ทำไมต้องขมิ้นชันสายพันธุ์ “แดงสยาม” สายพันธุ์ที่เราเลือกสรรมาไว้ใน “กรีนเคอมิน”

Last updated: 17 มิ.ย. 2561  |  6093 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ทำไมต้องขมิ้นชันสายพันธุ์ “แดงสยาม”  สายพันธุ์ที่เราเลือกสรรมาไว้ใน “กรีนเคอมิน”

  ทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ค้นพบสายพันธุ์ขมิ้นชันที่ดีที่สุด และตั้งชื่อว่า "แดงสยาม" ที่ให้ผลผลิตและมีสารเคอร์คูมินสูงมากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ อันมีฤทธิ์ช่วยป้องกันโรคมะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ มะเร็งต่อมลูกหมาก และโรคอัลไซเมอร์ โดยถอดรหัสดีเอ็นเอจากขมิ้นชัน ด้วยเทคโนโลยีการใช้เครื่องหมาย ดีเอ็นเอ ชนิด “Microstellite Marker” ในการตรวจสอบลำดับเบสของขมิ้นชันที่รวบรวมสายพันธุ์มาจากแหล่งต่าง ๆ ทั่วประเทศไทยกว่า 2,000 ตัน

  ดร.วิเชียร กีรตินิจกาล หัวหน้าศูนย์ความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืช สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ริเริ่มโครงการวิจัยการจำแนกสายพันธุ์ขมิ้นชัน ใช้เวลานานกว่า 18 เดือน เพื่อรวบรวมพันธุกรรมขมิ้นชันกว่า 2,000 ตัวอย่าง จากทั่วประเทศ และใช้กระบวนการจำแนกสายพันธุ์ด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอ ชนิด Microsatellite Marker หรือ SSR (Simple Sequence Repeat) ซึ่งเป็นดีเอ็นเอเครื่องหมายชนิดหนึ่งที่สามารถใช้แยกความแตกต่างระหว่ายสายพันธุ์พืช จากการศึกษาส่วนของดีเอ็นเอที่เป็น Microstellite และสามารถจำแนกสายพันธุ์ขมิ้นชันได้จำนวน 34 สายพันธุ์ ซึ่งในจำนวนนี้พบขมิ้นชันที่มีลักษณะดี 14 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่ดีที่สุดนั้นให้ผลผลิตถึง 6.2 ตัน/ไร่ และมีปริมาณสารเคอร์คูมินสูงถึง 10-12 % โดยใช้ชื่อพันธุ์ว่า "แดงสยาม"

  "ขมิ้นชัน" เป็นพืชสมุนไพรที่คนไทยใช้กันมาแต่โบราณ มีสารสำคัญสีเหลือง-ส้ม กลุ่มเคอร์คูมินอยด์ (Curcuminoid) ซึ่งจากงานวิจัยหลายชิ้นพบว่า สารคูมินมีฤทธิ์ช่วยป้องกันโรคมะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ มะเร็งต่อมลูกหมาก และอัลไซเมอร์ เมื่อเดือนมิถุนายน 2548 ที่ผ่านมา นักวิจัยจาก University of Texas M.D. Auderson Cancer Center. Houston สหรัฐอเมริกา ได้ทดลองใช้สารเคอร์คูมิน ร่วมกับยารักษามะเร็งในหนูทดลอง ประเทศไทยซึ่งเป็นอีกประเทศหนึ่งที่คุ้นเคยกับขมิ้นชันและมักใช้เป็นเครื่องเทศเพื่อปรุงอาหารมาแต่โบราณ แต่ปริมาณการปลูกและการส่งออกกลับอยู่ในระดับที่น้อยมาก ปัญหาหลักของขมิ้นชันไทยคือ ความไม่สม่ำเสมอของสารเคอร์คูมิน ซึ่งอาจเกิดจากสภาพแวดล้อมและพันธุกรรม ที่ผ่านมานั้นเรายังไม่สามารถแบ่งแยกสายพันธุ์ขมิ้นชันไทยได้ เพราะสายพันธุ์มีความคล้ายกันจนแยกไม่ออก จึงมีปัญหาการปะปนของสายพันธุ์ ซึ่งยากแก่การผ่านมาตรฐานการส่งออก โดยโครงการวิจัยนี้จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ และขณะนี้ กำลังเร่งดำเนินการขยายพันธุ์ขมิ้นชันสายพันธุ์แดงสยามเพื่อให้มีปริมาณมากพอที่จะนำไปให้กับเกษตรกรปลูกโดยได้ศึกษาถึงสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่มีต่อผลผลิตขมิ้นชันและสารเคอร์คูมิน อาทิ ชนิดของปุ๋ยและช่วงเวลาการใส่ปุ๋ย ระยะเวลาการปลูก ชนิดดินร่มเงา ลักษณะการวางท่อนพันธุ์ ความลึก และช่วงเวลาเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม คาดว่าจะได้ผลสรุปปลายปีนี้ พร้อมจะแนะนำและส่งเสริมเกษตรกรให้ปลูกขมิ้นชัน ให้ได้ผลผลิตอย่างมีคุณภาพ และสามารถส่งออกสู่ตลาดโลกได้ในอนาคต

Tel: 084-6368708, 062-4567878
Line: @Thaiherb2017
Facebook page: https://www.facebook.com/thaiherb2017

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้