ปวดแบบ "เก๊าท์" ปวดอย่างไร

Last updated: 5 ก.ค. 2561  |  4341 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ปวดแบบ "เก๊าท์" ปวดอย่างไร

โรคเก๊าท์

 ถือได้ว่าเป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยในเพศชาย ผู้ป่วยจะมีอาการปวดที่ข้ออย่างฉับพลัน รวมถึงมีอาการข้อแข็ง และบวม ซึ่งมักจะเป็นที่นิ้วหัวแม่เท้า ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาการของโรคเก๊าท์ก็จะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และอาจเป็นอันตรายต่อข้อต่อ เส้นเอ็นและเนื้อเยื่ออื่นๆได้

 โรคเก๊าท์เกิดจาก ร่างกายมีกรดยูริคในเลือดสูงกว่าปกติ และมีการสะสมกรดยูริคเป็นระยะเวลาที่ยาวนานหลายปี จึงทำให้กรดตกตะกอนสะสมอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ถ้าสะสมมากที่ข้อต่อ ก็จะเกิดอาการข้อต่ออักเสบ และปวดแดงร้อนบริเวณข้อต่อ, ถ้ากรดยูริคสะสมอยู่ตามผิวหนังมาก จะส่งผลให้เกิดปุ่มนูนบนขึ้นตามผิวหนัง และถ้ากรดยูริคสะสมที่ไตมาก ก็จะเกิดเป็นโรคนิ่วในไตและเกิดอาการไตเสื่อมค่ะ

สาเหตุของโรคเก๊าท์
  เนื่องจากมีกรดยูริกในเลือดมากเกินไปซึ่งสาเหตุของภาวะกรดยูริกในเลือดสูงมีคำอธิบายที่ยังไม่ชัดเจนมากนัก แต่มีความเชื่อว่าปัจจัยทางด้านพันธุกรรมน่าจะมีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะดังกล่าว เมื่อกรดยูริกในเลือดสูงขึ้น อาจตกผลึกในข้อต่อ ซึ่งจะกระตุ้นกระบวนการหนึ่งในระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดการอักเสบ รวมถึงอาการปวด และบวมของข้อต่อนั้นเอง



ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆที่มีผลทำให้เป็นโรคเก๊าท์มีดังนี้...

- การมีน้ำหนักเกินกว่ามาตรฐาน

- รับประทานอาหารที่มีพิวรีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ และอาหารทะเล เนื่องจากพิวรีนสามารถเปลี่ยนเป็นกรดยูริกได้ภายในร่างกาย

- ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป

- ยาบางชนิดที่อาจเพิ่มระดับของกรดยูริก เช่น แอสไพริน (aspirin) ไนอาซิน (niacin) หรือการใช้ยา-ขับปัสสาวะ (diuretics)

- ความเจ็บป่วยหรือสภาวะทางการแพทย์บางประการ เช่น การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว หรือโรคความดันโลหิตสูง

อาการของโรคเก๊าท์

- ข้อต่อเกิดการอักเสบและติดเชื้อ อาจเกิดขึ้นกับข้อต่อเพียงข้อเดียวหรือหลายข้อต่อ จนทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นเป็นสีแดง บวมแดง และแสบร้อน

- เคลื่อนไหวร่างกายได้ไม่สะดวกจากภาวะข้อติด ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกความรุนแรงของโรคที่เพิ่มมากขึ้น

- ผิวหนังบริเวณข้อต่อเกิดการลอกหรือคันหลังจากอาการของโรคดีขึ้น

 
การปฏิบัติตนเมื่อเป็นโรคเก๊าท์ 

 การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางส่วนอาจมีส่วนช่วยให้อาการของโรคทุเลาลงได้ตามคำแนะนำต่อไปนี้

- ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อช่วยให้ร่างกายขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะ และไม่ทำให้เกิดการตกตะกอนในระบบทางเดินปัสสาวะที่นำไปสู่การเกิดนิ่วในไต

- หลีกเลี่ยงหรือจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ให้อยู่ในปริมาณที่พอดี

- ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลมหรือเครื่องดื่มที่มีความหวานมาก โดยเฉพาะเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลฟรุกโตส

- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล สัตว์ปีก ถั่วบางชนิด สารสกัดจากยีสต์ แต่อาจทดแทนด้วยโปรตีนที่ได้จากผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันต่ำ

- ผู้ที่มีภาวะอ้วนควรลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน แต่ไม่ควรอดอาหารหรือลดน้ำหนักรวดเร็วจนเกินไป

แนวทางการรักษา

   การรักษาสามารถทำได้หลากหลายวิธี โดยจะใช้การรักษาด้วยยาเป็นหลัก ซึ่งแพทย์จะพิจารณาดูจากหลายปัจจัยประกอบในการเลือกใช้ยาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ทั้งอาการของโรค สุขภาพโดยรวม ในบางรายที่ปล่อยให้โรคดำเนินไปอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานโดยไม่ได้รักษา แพทย์อาจใช้วิธีการผ่าตัดทดแทนการใช้ยา เพื่อให้อาการปวดลดลงอย่างรวดเร็ว และป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดของโรคเก๊าท์ในบริเวณข้ออื่น ๆ ในอนาคต

สนับสนุนโดย :

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้