Last updated: 6 ก.ค. 2561 | 2565 จำนวนผู้เข้าชม |
อาการข้อเข่าเสื่อมสามารถพบได้กับทุกเพศทุกวัย แต่โดยส่วนมากมักพบในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป แต่อย่างไรก็ตามในระหว่างนี้ก็อาจมีภาวะป่วยเรื้อรังที่เพิ่มขึ้น และก้าวสู่ภาวะข้อเข่าเสื่อมอย่างเต็มรูปแบบ
ปัจจุบันมีการหันกลับมาดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย จีน และสมุนไพรกันมากยิ่งขึ้น โดยการรับประทานอาหารเสริม หรือ อาหารที่มีประโยชน์จากธรรมชาตินับเป็นอีกทางเลือกที่ได้รับการตอบรับ ในการบรรเทาและรักษาโรคปวดเข่า ข้อเข่าเสื่อม มากขึ้น
โดยอาการของโรคเริ่มจากมีอาการปวดบริเวณข้อเข่า เป็น ๆ หาย ๆ เมื่อพักการใช้เข่าอาการปวดจะทุเลาลงและจะปวดมากขึ้นเมื่อมีการใช้งานของข้อเข่าเพิ่มมากขึ้นหรือปวดตอนกลางคืนร่วมด้วย ในบางรายที่เป็นมากจะมีอาการปวดตลอดเวลา บริเวณข้อเข่าจะฝืด และติดขัดในขณะที่ใช้งาน ข้อเข่ามีลักษณะผิดรูปไปจากปกติเปลี่ยนรูปร่างไปจากเดิม เข่าบวมโตหรือขาอาจโก่งงอ และอาจมีเสียงกรอบแกรบขณะเคลื่อนไหว
สาเหตุของอาการเข่าเสื่อม
เกิดจากกระดูกอ่อนที่ทำหน้าที่ปกป้องส่วนปลายกระดูกข้อต่อเสื่อมลงหรือลดลง ซึ่งทำให้เกิดอาการที่ได้กล่าวในข้างต้นตามมา ส่วนสาเหตุของข้อเข่าเสื่อมที่มาจากสาเหตุอื่นหรือไม่ทราบสาเหตุ มีดังต่อไปนี้
- อายุ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด ซึ่งความเสี่ยงในการเกิดเข่าเสื่อมจะมีมากขึ้นเมื่อมีอายุที่มากขึ้น แต่ก็สามารถเกิดกับผู้ที่อายุยังน้อยได้เช่นกัน โดยความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อมีอายุ 40 ปี ขึ้นไป
- การบาดเจ็บ บาดเจ็บจากการเล่นกีฬาหรืออุบัติเหตุ ถึงแม้ว่าจะได้รับการรักษาจนหายเป็นปกติแล้ว แต่ก็ยังเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะเพิ่มอัตราเสี่ยงให้เกิดเข่าเสื่อมในอนาคตเพศ เพศหญิงมีโอกาสเกิดเข่าเสื่อมได้มากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปี ขึ้นไป แต่ในกรณีนี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด
- โรคอ้วน ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินอาจทำให้ข้อต่าง ๆ โดยเฉพาะข้อเข่าต้องรับน้ำหนัก 3-4 เท่าต่อน้ำหนักตัว ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงให้เข่าเสื่อมได้เมื่อเวลาผ่านไป
- กรรมพันธุ์ สังเกตจากผู้ป่วยข้ออักเสบในบางรายจะพบว่ามีประวัติของคนในครอบครัวเป็นโรคเข่าเสื่อมมาก่อน
- เกิดจากโรคข้ออักเสบชนิดอื่น ๆ เข่าเสื่อมอาจมีสาเหตุจากโรคข้ออักเสบชนิดอื่น ๆ ซึ่งเป็นภาวะที่ไปทำลายข้อต่อ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เก๊าท์ เป็นต้น
ผู้ที่เหมาะกับการใช้ตัวช่วยบำรุงข้อเข่า
- ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน)
- ผู้ที่มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูก เช่น การอยู่กับที่เป็นเวลานาน ไม่ค่อยขยับตัว ชอบดื่มน้ำอัดลม ชา กาแฟ เหล้า เป็นประจำ
- ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป ทำให้ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักมาก
- ผู้ที่มีความรู้สึกว่าข้อต่างๆ เริ่มยึด เสียงกระดูกดังลั่น ปวดตามข้อ ข้ออักเสบ
- ผู้ที่ออกกำลังกายหักโหมมากเกินไป
สนับสนุนโดย:
27 ส.ค. 2561