วิธีการนวดเพื่อแก้อาการแต่ละแบบ

Last updated: 27 มิ.ย. 2561  |  11583 จำนวนผู้เข้าชม  | 

วิธีการนวดเพื่อแก้อาการแต่ละแบบ

นวดทำไม...  แล้วทำไมนวดแล้วอาการดีขึ้น...

  "การนวด" มีมาตั้งแต่โบราณในแทบทุกทวีปของโลก เป็นการบำบัดที่เอาใจใส่ทั้งร่างกายจิตใจและอารมณ์ "ศาสตร์แห่งการนวด" บอกไว้ว่า การนวดที่ดีต้องทำอย่างตั้งใจ มีความรักและเมตตา ใส่จิตใจลงไปในขณะที่นวดด้วยจังหวะและการลงน้ำหนักมือในการนวดจะเป็นไปตามความรู้สึกของผู้นวด ผู้ทำการนวดที่ดีจะมีมืออุ่น แสดงว่ามีพลังงานมาก ภาษาญึ่ปุ่นเรียกว่า "คิ" ความหมายเดียวกับภาษาจีนว่ามีพลัง "ซี่" ถ่ายทอดให้กับคนอื่นได้



ประโยชน์ของการนวด

- กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น พังผืด ทำให้ยืดคลาย ลดอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหวของร่างกายสะดวกขึ้น
- การไหลเวียนของโลหิต ทำให้หลอดเลือดยืดขยาย การไหลเวียนของเลือดแรงขึ้น ทำให้ร่างกาย สดชื่น เสริมสร้างการทำงานของอวัยวะ
- ระบบประสาท ทำให้เกิดการกระตุ้นของระบบประสาท ความรู้สึกตอบสนองต่อธรรมชาติสิ่งแวดล้อมดีขึ้น มีความตื่นตัว ในการทำงาน
- ข้อต่อกระดูก ทำให้การเคลื่อนไหวคล่องขึ้น ยืดอายุการใช้งาน
- อารมณ์และจิตใจ ทำให้ผ่อนคลาย รู้สึกอบอุ่น
 

  วันนี้เรามาแนะนำการนวดเพื่อแก้ปัญหาอาการต่างๆ ให้เห็นผล และหายจากอาการนั้นๆ ไม่ใช่เพียงทายา แล้วถูๆ โดยสามารถแยกได้คร่าวๆดังนี้

ตำรานวดแก้อาการต่างๆ

การนวดเเก้เป็นลม

สาเหตุ   อาจเนื่องมาจากร่างกายอ่อนเพลีย เหนื่อยจัด อากาศร้อน อบอ้าว อยู่กลางเเดดนานเกินไป หรืออยู่ในที่เเออัด อดอาหาร อดนอน ตื่นเต้น ตกใจ

อาการ   อาการจะเกิดขึ้นรวดเร็ว รู้สึกมึน โคลงเคลง ตาพร่า หูอื้อ วิงเวียน มือ-เท้าเย็น เหงื่อออก หน้าซีด ชีพจรเบา เเละมีความดันต่ำ

จุดนวด

1.กดจุดร่องนิ้วโป้งมือ ซ้าย-ขวา 3-4 ครั้ง

2.กดจุดร่องใต้จมูกเหนือริมฝีปาก 3-4 ครั้ง

3.กดจุดใต้ลิ้นปี่ 3-4 ครั้ง

4.นวดบ่า เส้น 1 เเละเส้น 2 3-4 ครั้ง

5.นวดคอ เส้น 1 เเละเส้น 2 3-4 ครั้ง

ข้อเเนะนำ: ให้ผู้ป่วยพักในที่ถ่ายเทดี ใช้ผ้าชุบน้ำเย็น เช็ดหน้าเเละลำคอ

หมายเหตุ : ถ้านวดเเล้วไม่ดีขึ้นให้ส่งโรงพยาบาล

 

การนวดเเก้ตกหมอน

สาเหตุ   เกิดจากการนอนหมอนที่สูงหรือเเข็งเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อต้นคอ ต้องยืดเป็นเวลานานๆ หรือเกิดจากการยกของหนักๆเป็นเวลานานซึ่งทำให้เกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อเเละเส้นเอ็น ของเเขน หัวไหล่ ต้นคอ หากผู้ที่กำลังยก หรือ หิ้วของหนักอยู่นั้น หันหน้าหรือบิดคอ ไปข้างใดข้างหนึ่งอย่างกระทันหัน จะทำให้คอเคล็ดหรือเกิดอาการตกหมอนได้ หรืออาจเกิดจากการทำงานในอิริยาบทที่ไม่เหมาะสมเช่น การก้มคอนานๆ บางทีเกิดจากความเครียดวิตกกังวล ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อคอเกิดการเกร็งตัว

อาการ มีอาการปวดคอ ข้างใด ข้างหนึ่ง หรือปวดต้นคอถึงหัวไหล่ บางคนอาจปวดถึงสะบัก จะเอี้ยวคอ หรือหันหน้าไม่ถนัด คอจะเเข็ง บางคนก้มหรือเงยไม่ได้ เวลาหันหน้าจะต้อง หันไปทั้งตัว มักจะเกิดอาการปวดเมื่อย เวลาจะหันหน้าหรือเอียงตัว

จุดนวด

1.กดเส้นบ่า 1 เเละบ่า 2 เส้นคอ 1 เเละคอ 2

2.กดนวดรอบขอบสะบัก โดยดันเข้าหากระดูกสันหลัง

3.กดจุดโค้งคอข้างที่เป็น

4.กดจุดปลายสะบัก เเบบดันขึ้นบน

ข้อเเนะนำ: ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบบริเวณที่ปวด

ข้อควรระวัง: ถ้ามีอาการปวดร้าวลงเเขน ทำให้แขนชาไม่เเรง มักเกิดจากรากประสาทบริเวณคอถูกกดทับ กรณีนี้ ห้ามทำการนวด ควรส่งโรงพยาบาล

 

การนวดแก้สะบักจม

สาเหตุ   เกิดจากการทำงานหนัก เเบกหรือหามของหนักมากเกินไป เกิดจากนั่งทำงานในท่าที่ไม่เหมาะสม คือหลังไม่ตรง เเละก้มคอมาก   เกิดจากการนอนในท่าที่ไม่เหมาะสม   เกิดจากการเล่นกีฬาหรืออุบัติเหตุ

อาการ ปวดกล้ามเนื้อที่อยู่ระหว่างกระดูกสันหลังเเละสะบัก ยกเเขนไม่สะดวก ก้มหรือเงยคอได้ไม่เต็มที่ หันหน้าซ้ายขวา หรือเวลายกของก็ปวดเสียวลงมาที่ข้างสะบัก นอนตะเเคงข้างได้ไม่สะดวก ถ้าเป็นน้อยๆอาจปวดตื้อๆน่ารำคาญ ถ้าปล่อยไว้นานๆจะปวดหลัง เอวได้

จุดนวด

1.นวดให้รอบขอบสะบัก โดยดันเข้าหากระดูกสันหลัง

2.ร่องระหว่างซี่โครงซี่ที่ 1 เเละ 2

3.จุดโค้งคอ

หมายเหตุ : ถ้ามีอาการสะบักจมร่วมกับปวดไหล่เเละเเขนให้นวดส่วนเเขนเเละไหล่ก่อน

 

การนวดเเก้จุกเสียด

สาเหตุ   เกิดจากการกินอาหาร ไม่เป็นเวลา กินอาหารย่อยยาก หรือทำให้เกิดเเก๊สในกะเพาะได้ง่าย เช่น ถั่วงอก ถั่วลิสง อาหารรสจัด หรือเกิดจากความเครียด

อาการ    มีอาการจุกเสียดบริเวณยอด อกหรือใต้ลิ้นปี่ บริเวณชายโคลง ใต้สะบักเเละหน้าอก หายใจขัด ถ้าเรอจะรู้สึกสะบายขึ้น เบื่ออาหาร ท้องผูก

จุดนวด

1.นวดเส้น 2 ท่อนขาล่างด้านนอก

2.กดจุดนาคบาตร

3.กดเส้น 1 เเละ 2 ที่หลัง

4.กดจุดหน้าท้อง 12 จุด

5.โกยท้อง ปิดสะดือ

ข้อเเนะนำ: กินยาขับลมหรือดื่มน้ำขิง กินอาหารที่ย่อยง่าย ออกกำลังให้กล้ามเนื้อได้เคลื่อนไหว

 

การนวดเเก้ท้องผูก

สาเหตุ  เกิดจาก กินอาหารที่มีกากน้อย หรืออาหารที่มีรสฝาด เเละดื่มน้ำน้อย กินยาบางชนิดเช่น ยาเเก้ท้องเสีย ขาดการออกกำลังกาย อารมณ์เครียด วิตกกังวล มีอุปนิสัยถ่ายไม่เป็นเวลา กลั้นอุจจาระเป็นประจำ

อาการ   ถ่ายอุจจาระเเข็งหรือไม่ถ่ายอุจจาระนานหลายวัน(เว้นระยะนานกว่าที่เคยเป็นอยู่ ตามปรกตินิสัย) หรือถ่ายลำบาก ถ่ายเป็นก้อนเเข็งคล้ายขี้เเพะ เป็นพรรดึก อึดอัดในท้อง ผายลมบ่อย จุกเสียดในท้อง ร้อนใน ปากเป็นเเผล ลิ้นเป็นฝ้า หายใจมีกลิ่นเหม็น เป็นสิว ฝี เป็นริดสีดวงทวารหนัก

จุดนวด

1.เเนวข้างกระดูกกระเบนเหน็บ

2.เเนวลำไส้ใหญ่ วนจากขวาไปซ้าย

3.จุดก้นกบ

4.จุดเหนือข้างสะดือเเละใต้ข้างสะดือ อยู่เหนือเเละใต้ข้างสะดือ 4 นิ้วมือเเละห่างจากเเนวกลางลำตัว 3 นิ้วมือ

ข้อเเนะนำ: กินอาหารที่มีกาก มากๆเช่น ผักเเละผลไม้ ฝึกการขับถ่ายให้เป็นเวลา เป็นประจำทุกวัน ดื่มน้ำสะอาดวันละมากๆ อย่างน้อยวันละ 6-8 เเก้ว เเละควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

 

การนวดป้องกันการปวดประจำเดือน

สาเหตุ    เกิดจากการที่ ระดูมาไม่ปรกติ มีความเครียดวิตกกังวล สุขภาพร่างกายไม่แข็งเเรง

อาการ    มีการปวดหน่วงบริเวณท้องน้อย ปวดหลัง ปวดบริเวณหน้าขา กระเบนเหน็บ บางทีมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียร ใจคอ หงุดหงิดร่วมด้วย

จุดนวด

1.เเนวต้นขาด้านหน้า

2.เเนวขาด้านหลัง เส้น1

3.เเนวหลัง เส้น 1

4.เเนวเชิงกราน

5.จุดเหนือหัวเหน่า ต่ำจากสะดือ 4 นิ้วมือ

ข้อเเนะนำ: ก่อนประจำเดือนมาประมาณ 7 วันเเละหลังประจำเดือน 7 วัน ควรจะนวดเพื่อลดอาการปวดประจำเดือน ใช้น้ำร้อนประคบตรงที่ปวด นอนพักเเละดื่มน้ำอุ่น

ข้อห้าม ไม่ควรนวดท้อง ในกรณีที่ประจำเดือนไม่มาตามกำหนด หรือก่อนเเละหลังประจำเดือน 2-3 วัน

ท่าบริหาร ยืนตรง ยกเเขนขึ้น โน้มตัวลงมาให้ปลายนิ้วมือเเตะปลายเท้า เเล้วยกเเขนขึ้นตรงๆเอ่นตัวไปด้านหลังให้มากที่สุด

ท่าที่ 2 เอามือจับเอวทั้ง 2 ข้าง ขาเหยียดตรง กางขาออกเล็กน้อย บิดเอวไปทีละข้าง ซ้าย- ขวา

 

การนวดป้องกันตะคริว

สาเหตุ    เลือดไปเลี้ยงส่วนนั้นไม่พอ ,กล้ามเนื้อส่วนนั้นทำงานมาก ,ภาวะเสียน้ำในร่างกายมาก ,พฤติกรรมบางอย่าง เช่น ใส่รองเท้าส้นสูง

อาการ    กล้ามเนื้อส่วนที่เป็นตะคริวจะเเข็งเกร็ง ใช้มือคลำดูจะรู้สึกเเข็งเป็นก้อน ถ้าขยับจะยิ่งเเข็งเเละปวดมากขึ้น ทำให้มีอาการปวดกล้ามเนื้อตามมา พบบ่อยตามบริเวณน่อง นิ้วมือ นิ้วเท้า เเละพบมาก ในนักกีฬา กรรมกร หญิงมีครรภ์

จุดนวด

1.เเนวขาด้านนอกเส้น 2 ช่วงหน้าเเข้ง เน้นจุดนาคบาต

2.เเนวขาด้านนอกเส้น 3 ช่วงหน้าเเข้ง

3.เเนงขาด้านหลัง เส้น 1 (กดทับเส้นเอ็นร้อยหวาย)

ข้อเเนะนำ: ถ้าเป็นตะคริวขณะเข้านอนกลางคืนบ่อยๆควรให้ดื่มนมเเละนอน ยกขาสูงประมาณ 4 นิ้ว ถ้าเป็นตะคริวจากการท้องเสีย อาเจียร เหงื่อออกมาก ควรให้ดื่มน้ำเกลือ ถ้าเป็นๆหายๆบ่อยโดยเฉพาะเป็นขณะเดินนานๆหรือยืนนานๆ ควรเเนะนำให้ไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุ

 

การนวดเเก้ข้อเท้าเเพลง

สาเหตุ   เกิดจากเอ็น พังผืด หรือกล้ามเนื้อที่ยึด รอบๆข้อ ถูกยืดออก(ข้อเคล็ด)หรือมีอาการฉีกขาด(ข้อเเพลง)เพราะหกล้ม ข้อบิด ถูกกระเเทกหรือยกของหนัก มักเป็นที่ข้อเท้า

อาการ  หลังจากข้อเท้าเเพลงทันทีจะมีอาการ ปวดเจ็บที่ข้อ เจ็บมากเวลาเคลื่อนไหวข้อ หรือใช้นิ้วกด ต่อมาจะบวมเเดงเเละร้อน

การรักษาขั้นเเรก

1.หลังการบาดเจ็บ ควรประคบด้วยน้ำเเข็ง หรือเเช่ในน้ำเย็น เพื่อให้เลือดหยุดไหลข้างในลดอาการบวมเเละปวด ทำประมาณ   3 ครั้งในช่วง 24 ชั่วโมงเเรก เเล้วเอาผ้าพันยึด โดยพันรอบข้อเท้า พักการใช้ข้อนั้นเเละให้ยกข้อสูงเวลา นั่ง หรือ นอน

2.หลังจาก 24-48 ชั่วโมงเเล้ว ควรประคบด้วยน้ำร้อน หรือเเช่ในน้ำอุ่นครั้งละ15-30 นาที วันละ 2-3 ครั้ง อาจใช้ยาหม่อง ทาถูนวด เเละนวดบริเวณสันหน้าเเข้งเเละบริเวณน่อง ใช้ผ้าพันยึด พันพอเเน่น เเละยกข้อที่เเพลงให้สูงๆ เเล้วค่อยๆเคลื่อนไหวบริหารข้อให้คืนสู่สภาพเดิม

3.ถ้าอาการ ไม่ดีขึ้น หรือสงสัยว่ากระดูกหัก หรือ ข้อเท้าเเพลงด้านในควรส่งโรงพยาบาล

จุดนวด

1.เเนวขาด้านนอกเส้น 1 ช่วงหน้าเเข้ง

2.เเนวขาด้านนอกเส้น 2 ช่วงหน้าเเข้ง

3.เเนวขาด้านนอกเส้น 3 ช่วงหน้าเเข้ง

4.เเนวขาด้านหลังเส้น 1 ช่วงน่อง

5.เเนวขาด้านหลังเส้น 2 ช่วงน่อง

 

การนวดเเก้อาการชา

อาการชา   เกิดจากการไหลเวียนโลหิตไม่ดี มี 2 เเบบคือ เเบบชั่วคราว(เมื่อมีอาการเเล้วกลับคืนปรกติได้)เเละเเบบถาวร(ซึ่งเกิดจากระบบประสาท)

อาการเหน็บหมายถึง   อาการที่เกิดจากการไหลเวียนโลหิตเฉพาะส่วนไม่ดี ความรู้สึกเฉพาะส่วนลดลง มีความรู้สึกคล้ายมีมดไต่ เกิดอาการเป็นชั่วคราวเเละหายไปได้เอง

สาเหตุ    การไหลเวียนเลือดไม่ดี เช่นเกิดจากการกดทับ จากอิริยาบทต่างๆ การเกร้ง เเข้งตัวของกล้ามเนื้อ เกิดจากเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

อาการ    ความรู้สึกเฉพาะส่วนลดลง มีความรู้สึกเหมือนมีมดไต่เป้นชั่วคราวเเละหายไปได้เองเมื่อเปลี่ยนวิธีนวด ถ้าเป้นมากจะเป็นอาการชา

เเนวนวดเส้นที่มีอาการชาเเละจุดที่ชาเช่นชาเเขนนวดเเขน 4 เเนวเเล้วเน้นจุดเฉพาะ

1.นวดชาทั่วๆไป

2.เน้นเเนวที่มีผลต่ออาการชา

3.เน้นเฉพาะบางจุดที่มีผล

4.นวดบริหารข้อต่อ เพื่อให้การไหลเวียนดีขึ้น

หมายเหตุ...นวดให้เส้นคลายให้เกิดความอบอุ่น

จุดนวดบริเวณที่ขา   คือ  นวดเเนวขาด้านนอก น่อง หลังเท้า ปลายนิ้วเท้า

จุดนวดบริเวณหลัง   คือ  นวดเเนวกระดูกสันหลัง เอว สะโพก

จุดนวดบริเวณเท้า    คือ  กึ่งกลางตาตุ่มด้านใน เเก้ชาปลายเท้ากดเเล้วดันเข้าหาตาตุ่ม

ข้อเเนะนำ: บริหารข้อต่อ ที่มีอาการฯ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

Tel: 084-6368708, 062-4567878
Line: @Thaiherb2017
Facebook page: https://www.facebook.com/thaiherb2017

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้