การแบ่งระยะของกรดไหลย้อนแบบทางการแพทย์ และโรคร้ายที่มากับกรดไหลย้อน

Last updated: 18 ต.ค. 2561  |  6568 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การแบ่งระยะของกรดไหลย้อนแบบทางการแพทย์ และโรคร้ายที่มากับกรดไหลย้อน

  วันนี้เราจะมานำเสนอเรื่องของการแบ่งประเภทของผู้ป่วยกรดไหลย้อนแบบละเอียดกันค่ะ แต่เนื้อหาอาจจะทำความเข้าใจยากเล็กน้อยนะค่ะ เพราะเราจะอ้างอิงจากระบบของทางการแพทย์ ที่ใช้ในการแบ่งผู้ป่วยเพื่อแยกการรักษา

  โดยหลักๆแล้ว แพทย์จะใช้ความรุนแรงของการอักเสบบริเวณหลอดอาหารเป็นตัวแบ่งแยก เรียกว่า “LA Classification of Esophagitis” (ลำดับการอักเสบบริเวณหลอดอาหาร) โดยจะแยกออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆก่อน นั้นคือ



  1. กลุ่มที่ไม่เคยได้รับการส่องกล้องตรวจภายในหลอดอาหารส่วนต้น ในกรณีนี้แพทย์เห็นว่าอาการจะเป็นไม่มาก หรืออาการไม่ชัดเจนว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน จึงไม่ส่งต่อไปทำการส่องกล้องตรวจหลอดอาหาร  รักษาได้ด้วยการทานยาปกติ

    2. กลุ่มที่เคยได้รับการสืบค้นหาโดยการส่องกล้องตรวจภายในทางเดินส่วนต้น  โดยในกลุ่มนี้แพทย์จะค่อนข้างเห็นว่าอาการของผู้ป่วยไปทางโรคกรดไหลย้อน และมีอาการค่อนข้างมาก จึงต้องทำการส่องตรวจเพื่อเช็คระดับการอักเสบของทางเดินอาหารภายใน และกลุ่มนี้จะแยกออกเป็นอีก 4 กลุ่มย่อย คือ

    2.1 GERD1 ไม่มีอาการหลอดอาหารอักเสบหรืออักเสบน้อย (Non-erosive Reflux Disease)

    2.2 GERD2 มีอาการหลอดอาหารอักเสบ (Erosive Reflux Disease)

    2.3 GERD3 มีภาวะหลอดอาหารตีบ หรือภาวะแทรกซ้อนจากอาการอักเสบ

    2.4 GERD4 อาการอักเสบเรื้อรัง (Barrett’s Esophagus)  นอกจากมะเร็งหลอดอาหารแล้ว การปล่อยให้มีภาวะอักเสบเรื้อรังยังทำให้เกิดโรคอื่นๆอีก (Complications of long-Term GERD) การเป็นกรดไหลย้อนเรื้อรังจะนำไปสู่โรคร้ายแรงได้ดังนี้

    - Barrett’s Esophagus (ภาวะอักเสบเรื้อรังบริเวณหลอดอาหาร)

    - Esophageal Cancer (มะเร็งหลอดอาหาร)

    - Laryngeal Cancer (มะเร็งกล่องเสียง)

    - Erosive Esophagitis (หลอดอาหารอักเสบจากกรด)

    - Esophageal Strictures (ภาวะตีบของหลอดอาหาร)



 โดยการรักษาที่เหมาะสมในแต่ละระยะก็จะมีหลากหลายวิธีทั้งการรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน หรือการผ่าตัดบริเวณหลอดอาหาร จากข้อมูลที่เรานำเสนอทั้งหมดนี้ระดับความรุนแรงที่เกิดจากโรคกรดไหลย้อนสามารถเพิ่มระดับความรุนแรงได้อย่างต่อเนื่อง จนเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคร้ายแรงตามมาภายหลัง ทั้งนี้หากท่านไม่ต้องการให้อาการพัฒนาไปมากกว่าที่เป็นอยู่ ควรหันกลับมาดูแลรักษาอาหารตั้งแต่เนินๆนะค่ะ ยิ่งเริ่มต้นรักษาอาการตอนที่เป็นน้อย ก็จะทำให้ใช้เวลาในการรักษาที่สั้นด้วยเช่นกัน

สนใจสั่งซื้อ หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line: @thaiherb2017
Inbox page: http://m.me/thaiherb2017
Call Center: 084-6368708, 062-4567878

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้