รวบรวมผลงานการทดลอง "ประสิทธิภาพการทำงานของเคอร์คูมิน"

Last updated: 13 ต.ค. 2561  |  3079 จำนวนผู้เข้าชม  | 

รวบรวมผลงานการทดลอง "ประสิทธิภาพการทำงานของเคอร์คูมิน"

  การศึกษาในสัตว์ทดลอง พบว่ามีการนำสารหรือตัวยาที่สำคัญซึ่งได้จากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติมาใช้ในการป้องกัน บรรเทา และรักษาโรคต่างๆ รวมถึงโรคมะเร็ง ซึ่งการศึกษาหาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจะให้ความสนใจผลิตภัณฑ์ที่มีสารที่สามารถออกฤทธิ์ทางชีวภาพ รวมทั้งการออกฤทธิ์ที่สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง เช่น ฤทธิ์ต้านการอักเสบ (anti-inflammation ) ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (anti-oxidant) ฤทธิ์ต่อระบบภูมิคุ้มกัน (immunomodulation) เป็นต้น พบว่าสารจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่มีศักยภาพในการป้องกัน หรือรักษาโรคมะเร็งที่น่าสนใจและมีการศึกษาอย่างแพร่หลายนั่นคือ “เคอร์คูมินที่สกัดออกมาจากขมิ้นชัน” ซึ่งมีการนำมาใช้ทางการแพทย์ โดยใช้รักษาอาการอักเสบในผู้ป่วยด้วยโรคต่างๆ  ทั้งนี้ยังมีการพัฒนาและนำมาใช้ในโรคพยาธิใบไม้ในตับและโรคมะเร็งท่อน้ำดีต่อไปอีก

 จากการวิจัยพบว่าสารกลุ่มนี้มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาอย่างกว้างขวาง มีคุณสมบัติในการรักษาบาดแผล ยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์  ฤทธิ์ต้านการอักเสบมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ และสามารถต้านการเกิดมะเร็งได้ จึงนำมาใช้ประโยชน์ทั้งทางด้านอาหาร เครื่องสำอาง และยา ซึ่งในทางการแพทย์ได้มีการนำเคอร์คูมินอยด์  มาใช้รักษาอาการอักเสบรักษาโรคมะเร็งต่างๆ  ได้แก่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งลำไส้เล็กส่วนต้น มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งหลอดอาหารและมะเร็งช่องปาก  อีกทั้งมีการวิจัย พบว่าเคอร์คูมินอยด์ สามารถใช้เป็นเคมีป้องกัน ยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้ในสัตว์ทดลอง ซึ่งเคอร์คูมินอยด์ที่มีการจัดจำหน่ายเพื่อใช้สำหรับงานวิจัยและการทดลองทางคลินิก จะมีส่วนประกอบของ เคอร์คูมิน 77% เดสเมท็อกซี่เคอร์คูมิน 17% และบิสเดสเมท็อกซี่เคอร์คูมิน  3% ตามลำดับ


  ในวันนี้ทาง Thaiherb ได้ยกผลการทดลองบางส่วนเกี่ยวกับ “ประสิทธิภาพของเคอร์คูมินต่อการรักษาโรค” มาให้ทำการศึกษากัน เพื่อเพิ่มความเข้าใจ และความมั่นใจในการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้ผ่านการวิจัยมาแล้วมากมาย

ผลการทดลองที่ 1 การทดลองใช้เคอร์คูมินในหนูแฮมสเตอร์ที่ติดพยาธิใบไม้ในตับ
  การติดพยาธิใบไม้ตับในระยะเฉียบพลัน ทำให้เกิดกระบวนการอักเสบ มีการสร้างอนุมูลอิสระชนิดออกซิเจนและไนโตรเจนจำนวนมากผ่านกระบวนการอักเสบ ทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างการสร้างและการต้านอนุมูลอิสระ โดยอนุมูลอิสระที่สร้างมากไปจะไปทำลายสารชีวโมเลกุล ทำให้เซลล์เยื่อบุผิวท่อน้ำดีอักเสบ เป็นจุดเริ่มต้นของมะเร็งท่อน้ำดี
 


  แฮมสเตอร์ที่กินอาหารผสมขมิ้นชันมีอัตราการสร้างอนุมูลอิสระลดลง เซลล์ตับที่ถูกทำลายมีระดับลดลงตามลำดับ นอกจากนี้ยังไปเพิ่มระดับของ Ferric-reducing anti-oxidant power (FRAP) ในพลาสมาซึ่งบ่งชี้ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ ทำให้การแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งลดลง อีกทั้งยังป้องกันการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี ที่มีสาเหตุจากการติดพยาธิใบไม้ในตับ

ผลการทดลองที่ 2 เคอร์คูมินต่อการลดการสะสมของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันรอบท่อน้ำดี (Periductal fibrosis) ในหนูแฮมสเตอร์ที่ติดพยาธิใบไม้ตับ
  หนูที่ติดพยาธิใบไม้ตับในระยะเรื้อรังจะพบว่า มีการสะสมของพังผืดหรือเนื้อเยื่อเกี่ยวพันรอบท่อน้ำดี

- ในช่วง 21-1 เดือนความหนาของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันรอบท่อน้ำดีในหนูที่กินเคอร์คูมินกับไม่กิน ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

- ในช่วง 3-6 เดือน การสะสมของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันรอบท่อน้ำดีของหนูกลุ่มที่กินเคอร์คูมินลดลง

เนื่องจากเคอร์คูมินไปมีผลเพิ่มการแสดงออกของไซโตไลน์บางชนิดที่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบ และยังไปกระตุ้นการแสดงออกของ tissue inhibitor of matrix metalloproteinase (TIMP)-1 และ (TIMP)-2 ซึ่งเป็นตัวยับยั้งการทำงานของ MMPs ทำให้มีการย่อยสลายเนื้อเยื่อเกี่ยวพันรอบท่อน้ำดี และยั้งไปยับยั้ง TIMPs อีกด้วย

ผลการทดลองที่ 3 ผลของเคอร์คูมินต่อการป้องกันภาวะออกซิเดทีฟและไนเตรทีฟสเตรสที่เกิดจากการรักษาด้วยยาพราซิควอนเทลในหนูแฮมสเตอร์ที่ติดพยาธิใบไม้ตับ
   การศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าการรักษาด้วยยาพราซิควอนเทลก่อให้เกิดผลข้างเคียงโดยไปทำให้พยาธิใบไม้ตับปล่อยแอนติเจนออกมามากมายและไปกระตุ้นเซลล์อักเสบโดยเฉพาะ mast cell  และ eosinophils ส่งผลให้เกิดภาวะเครียดแบบออกซิเดชั่นและไนเตรชั่น ในปี ค.ศ. 2011 Charoensuk และคณะได้ทำการศึกษาผลของเคอร์คูมินในการป้องกันการเกิดภาวะออกซิเดทีฟและไนเตรทีฟสเตรสหลังการรักษาด้วยยาพราซิควอนเทล โดยให้หนูแฮมสเตอร์ที่ติดพยาธิใบไม้ตับกินสารเสริมเคอร์คูมินซึ่งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ติดต่อกัน 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้ยาพราซิควอนเทลที่เวลา 12 ชั่วโมงก่อนฆ่าหนู พบว่าเคอร์คูมินสามารถลดการรวมกลุ่มของเซลล์อักเสบชนิด eosinophils รอบๆท่อน้ำดีและเพิ่มจำนวนเซลล์อักเสบชนิด mononuclear cells เคอร์คูมินยังเพิ่มการแสดงออกของยีนที่ควบคุมด้วย Nrf2 อีกด้วย นอกจากนี้เคอร์คูมินยังมีผลกระตุ้น transcription factor 3 ซึ่งเป็นยีนที่สร้างเอ็นไซม์ต่อต้านอนุมูลอิสระ นำไปสู่การเพิ่มระดับความสามารถในการต่อต้านสารอนุมูลอิสระ (ferric antioxidant capacity) ในพลาสมา ในทางตรงข้ามเคอร์คูมิน สามารถลดระดับ 8-oxodG ในปัสสาวะ มาลอนไดอัลดีไฮด์ (malondialdehyde) ไนเตรต/ไนไตรต์ (nitrate/nitrite)  และการทำงานของเอนไซม์ ALT ในพลาสมาซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ภาวะเซลล์ตับถูกทำลาย

  เคอร์คูมินอาจมีประสิทธิภาพเป็นสารเคมีป้องกันภาวะออกซิเดทีฟและไนเตรทีฟสเตรสจากการรักษาด้วยยาพราซิควอนเทลในระยะสั้นหลังการติดพยาธิใบไม้ตับ โดยเคอร์คูมินไปเหนี่ยวนำการแสดงออกของ Nrf2 และยับยั้งการแสดงออกของ NF-kB ที่ควบคุมวิถีของกระบวนการอักเสบ และ Nrf2 อาจเป็นโมเลกุลเป้าหมายใหม่สำหรับการรักษาไม่เฉพาะในโรคติดเชื้อปรสิตแต่รวมถึงโรคชนิดอื่นที่เกิดจากกระบวนการอักเสบ อย่างไรก็ตามการทดสอบในมนุษย์จำเป็นที่จะต้องพิสูจน์ยืนยันผลที่เกิดในสัตว์ทดลอง ว่าเคอร์คูมินสามารถประยุกต์ใช้เพื่อป้องกันรักษาผลจากภาวะแทรกซ้อนหลังรักษาในคนที่ติดพยาธิ O. viverrini  ได้หรือไม่ต่อไป

  สรุปผลของเคอร์คูมินต่อโรคพยาธิใบไม้ตับในสัตว์ทดลอง พบว่าเคอร์คูมินมีผลลดการอักเสบ ลดภาวะออกซิเดทีฟและไนเตรทีฟสเตรสในโรคพยาธิใบไม้ตับในระยะเฉียบพลัน ลดการหนาตัวของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันรอบท่อน้ำดีในการติดพยาธิในระยะเรื้อรัง โดยเคอร์คูมินไปกระตุ้นไซโตไคน์ และ MMPs แต่ไปยับยั้งการแสดงออกของ TIMPs นอกจากนี้เคอร์คูมินยังสามารถป้องกันภาวะออกซิเดทีฟและไนเตรทีฟสเตรสที่เกิดจากการรักษาด้วยยาพราซิควอนเทลในโรคพยาธิใบไม้ตับ ดังนั้นเคอร์คูมินจึงอาจนำมาใช้เป็นสารเคมีป้องกันเพื่อลดความรุนแรงของโรคพยาธิใบไม้ตับ และป้องกันการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดีในมนุษย์

  และมี 1 ผลการทดลองสุดท้ายนี้ เราจะได้รู้จักสารอีกหนึ่งตัวที่อยู่ภายในขมิ้นชันมีฤทธิ์ในการลดอาการอักเสบเช่นกัน นั้นเป็นเหตุผลว่าทำไมขมิ้นชันถึงเป็นสุดยอดสมุนไพรไทย


ผลการทดลองที่ 4 ทูร์เมอริก (turmeric) และการออกฤทธิ์ต้านการอักเสบในโรคพยาธิใบไม้ตับ

  นอกจากการศึกษาโดยใช้สารเคอร์คูมินแล้ว ยังมีการศึกษาประสิทธิภาพของทูร์เมอริกซึ่งเป็นสารสกัดหยาบจากขมิ้นชันมาทดสอบในหนูแฮมสเตอร์ที่ติดพยาธิใบไม้ตับ พบว่าทูร์เมอริกสามารถลดจำนวนเซลล์อักเสบในหนูแฮมสเตอร์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นโรคพยาธิใบไม้ในตับในระยะเริ่มแรก แสดงให้เห็นว่าทูร์เมอริกมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ โดยดูจากผลทางพยาธิวิทยา พบว่ามีการรวมกลุ่มของเซลล์อักเสบที่อยู่ล้อมรอบ hepatic bile duct ลดน้อยลง ซึ่งสอดคล้องกับผลการทดสอบการทำงานของตับที่พบว่ามีการลดการทำงานของ ALT และ direct bilirubin แสดงให้เห็นว่าทูร์เมอริกสามารถกระตุ้นให้เกิดการหดตัวของทางเดินน้ำดี (biliary contraction) และค่า alkaline phosphatase (ALP)  มีระดับสูงขึ้น ผลของทูร์เมอริกที่ไปลดการอักเสบ อาจมาจากการไปยับยั้งการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องในกระบวนการอักเสบ การศึกษานี้จึงแสดงให้เห็นว่าทูร์เมอริก มีคุณสมบัติเป็นสารต้านการอักเสบ และสามารถลดการเกิดพยาธิสภาพในตับได้ในการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในระยะเริ่มแรก  อย่างไรก็ตามนอกเหนือจากคุณสมบัติต้านการอักเสบแล้วยังพบว่าทูร์เมอริกไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นพิษต่อหนูแฮมสเตอร์ปกติ ซึ่งสอดคล้องกับผลการทดสอบการทำงานของตับ จึงเป็นการสนับสนุนการศึกษาก่อนหน้านี้ที่รายงานว่าไม่พบผลกระทบที่เป็นพิษในหนูแฮมสเตอร์

  จากการศึกษาทั้งในสัตว์ทดลองและในหลอดทดลองเซลล์มะเร็งท่อน้ำดีของคน 3 ชนิด KKU100, KKU-M156 และ KKU-M214 สรุปได้ว่าเคอร์คูมินสามารถป้องกันและรักษามะเร็งท่อน้ำดีได้ โดยมีบทบาทในการยับยั้งการเกิดมะเร็งใน 3 ขั้นตอน คือ initiation, promotion และ progression อย่างไรก็ตามเนื่องจากเคอร์คูมินเป็นสารที่ไม่ละลายในน้ำ ทำให้การดูดซึมในลำไส้ได้น้อย ระยะเวลาในการออกฤทธิ์ในกระแสเลือดสั้น  ปัจจุบันผลิตภัณฑ์Greencurminได้มีการศึกษาเกี่ยวกับเมตะบอไลท์ตัวอื่นๆ ของเคอร์คูมิน ตัวอย่างเช่น ไดไฮโดรเคอร์คูมิน (dihydrocurcumin) และเตตระไฮโดรเคอร์คูมิน (tetrahydrocurcumin) ซึ่งต่อมาผลิตภัณฑ์จะถูกเปลี่ยนแปลงให้อยู่ในรูป monoglucuronide conjugates  เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการละลายและการดูดซึมของสารเคอร์คูมินให้ดีขึ้น
อ้างอิง: Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University.
 
สนับสนุนโดย:

สนใจสั่งซื้อ หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line: @thaiherb2017
Inbox page: http://m.me/thaiherb2017
Call Center: 084-6368708, 062-4567878

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้